วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 9

E -Government

E -Government  หมายถึง การให้บริการของภาครัฐผ่านเครือข่ายอิเลกทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เสริมสร้างความโปร่งใสของการดำเนินงานของภาครัฐ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทำให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น
E-Government เป็นหนึ่งแนวคิดสำคัญที่สอดคล้องกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือ New Public Administration (NPA) เป็นการปรับปรุงบริการภาครัฐโดยนำแนวคิดการให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือประชาชนผู้มารับบริการเป็นหลัก (Customer Driven) มาใช้ โดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ

กลุ่มตามผู้รับบริการของ e-Government
1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
          เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
          เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
          เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อ
ให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
 (Government Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม
4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
          เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น


ประชาชนจะได้อะไร

สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
        สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต ได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center), บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการประกอบการที่ลดลง ค้าขายกับรัฐคล่องขึ้น เสี่ยงน้อยลง(สต๊อกของน้อยลง)
         ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มให้บริการออนไลน์บ้างแล้ว อาทิ กรมสรรพากร ที่เปิดระบบ e-Revenue ให้ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ หรือกรมทะเบียนการค้า ที่รับจดทะเบียนผ่านระบบ On-line Registration และทางมหาลัยที่เปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นต้น
ลักษณะของระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะช่วยให้หน่วยงานที่ต้องการทราบหรือใช้ข้อมูลของประชาชน สามารถเชื่อมโยงเข้าไปที่ระบบฐานข้อมูลกลางของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ได้ ทางฝ่ายประชาชนเองจะสามารถรับบริการได้อย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
 ตัวอย่างเช่น การแจ้งเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ สามารถทำเพียงครั้งเดียว ที่ระบบของสำนักทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง หลังจากนั้นระบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราต้องแจ้งได้เองโดยอัตโนมัติ อาทิ กรมการขนส่งทางบก เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในใบขับขี่ ที่การไฟฟ้า ฯ การประปาฯ เพื่อเปลี่ยนชื่อที่อยู่ในใบแจ้งค่าไฟ ค่าน้ำ หรือที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรประกันสังคม เป็นต้น  และหากระบบมีการเชื่อมโยงกับระบบการชำระเงิน หรือที่เรียกว่า payment gateway ประชาชนก้จะสามารถชำระค่าบริการต่าง ๆ อาทิ ค่าภาษีอากร ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ธนาคาร หรือที่จุดบริการชำระเงิน เช่น Coynter Service ใด ๆ จึงประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทาง หากมีการนำระบบ e-Government มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดในปัจจุบันสถานบริการอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปได้เปิดให้บริการเป็นจำนวนมากทั้งในเมืองและในชนบททั่วทุกจังหวัดของประเทศในลักษณะของอินเตอร์เน็ตคาเฟ่
โดยคิดค่าบริการเป็นชั่วโมงใช้งานสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นของส่วนตัว หรือเสียค่าบริการอินเตอร์เน็ตเป็นรายเดือนแต่อย่างใด

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและดูเหมือนจะมีขนาดเล็กลงและหมุนเร็วขึ้นโดยไม่มีทีท่าว่าจะคอยใคร ด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่ไม่มีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนด  การแข่ง ขันมีมากขึ้น ประเทศที่เข้มแข็งและมีความสามารถทางปัญญาเท่านั้นที่จะอยู่รอด สำหรับโลกใบนี้ เราจำเป็นต้องก้าวให้เร็วและเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความเร็วของตนเอง และเอาชนะความเร็วของกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก หรืออย่างน้อยก็ไปพร้อมกับความเร็วที่เคลื่อนไป เราไม่ต้องการเป็นคนที่ทันสมัยที่สุด แต่ก็ไม่ถึงกับหลุดโลก และไม่ต้องการเห็นเราล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 5-10 ปี เราไม่ต้องการเป็นอดีต ในปัจจุบัน และจากผลสำรวจของ IMD ในปี 2549 ในด้านขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ประเทศไทยติดอันดับที่ 32 จากผลสำรวจ 61 ประเทศ จากปีที่ผ่านมาได้อันดับที่ 27 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาในจุดที่ด้อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างภาคภูมิ โดยสร้าง ความสมดุลและภูมิคุ้มกัน ในสังคมไทยให้เกิดขึ้น กลไกลหรือเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้ก้าวเร็วขึ้นและก้าวกระโดดก็คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กร  จากหน่วยเล็ก ๆ หลาย ๆ หน่วยสอดประสานด้วยข้อมูลของหน่วย เพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น เราจำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาและสร้างฐานข้อมูลสำหรับขององค์การ  เมื่อถึงจุดหนึ่งความเชื่อมโยงของข้อมูลจะมีความสมบูรณ์ เข้มแข็งและเป็นระบบ นั่นหมายถึงการมีฐานข้อมูลที่มีปะสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ เพื่อการบริหาร   การจัด การ  การตัดสินใจ และการบริการนักศึกษาและประชาชน สำหรับการทำธุรกรรมหรือการประกอบกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความเร็ว (Economy of Speed) และลดเวลาในการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เราไม่มีเวลาที่จะมาลองผิดลองถูกกันอีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้าและร่วมกันก้าวอย่างมั่นใจ

e-Government เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 โดยประมวลภาพจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  9  พ.ศ. 2545-2549 กับ  กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 หรือ IT 2010 เพื่อให้สอดคล้องและสามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ในระยะ 5 ปี โดยมีเป้าหมายปี 2545-2547 ระบบสารสนเทศภายในหน่วยงาน (Back Offices) ระดับกรมต้องเสร็จสิ้น  และหลังปี 2547 ระบบบริการประชาชน (Front Offices) ควรจะเชื่อมโยงเครือข่ายและให้บริการประชาชนได้   หลายหน่วยงานได้ปรับระบบบริการที่ดีขึ้น จากที่เราท่านได้สัมผัสถึงแม้หลายหน่วยงานยังไม่สามารถเดินไปตามแผนด้วยปัจจัยที่ยังไม่เอื้ออำนวยก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
e-Government เป็นยุทธศาสตร์ในการก้าวไปสู่การพัฒนาประเทศโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่จะให้บรรลุผล  ถ้าจะแปลกันตรงตัวก็คือ ”รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เพราะ “e” ย่อมาจาก electronic เป็นการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ มาปฏิรูประบบงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ  สนองความต้องการของประชาชน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้เป็นสังคมดิจิตอล
 (Digital Society) ที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ท่านลองคิดดูว่าเมื่อบัตรประชาชนหมดอายุ ท่านต้องเดินทางไปที่อำเภอตามภูมิลำเนาเดิมเพื่อทำบัตรใหม่  ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ถ้าระบบเครือข่ายฐานข้อมูลสมบูรณ์ ท่านสามารถทำบัตรได้จากทุกที่ทำการทั่วประเทศ ตัวอย่างถัดไป ถ้าท่านจะประ กอบธุรกิจ ระบบเครือข่ายสารสนเทศสามารถตอบสนองท่านได้ ว่ามีกี่ขั้นตอน ลำดับขั้นการติดต่อ ว่าท่านจะ ต้องติดต่อขออนุมัติจากหน่วยงานใดบ้าง แหล่งวัตถุดิบจากที่ไหน ตลาดที่รองรับ แหล่งการเงินจากที่ใด กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระบบภาษี เป็นอย่างไร ท่านสามารถใช้ระบบจากเครือข่ายที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานโดยมี
 e-Government เป็นศูนย์กลางและอำนวยความสะดวก เพื่อทำธุรกรรมจากเครื่องคอมพิว เตอร์ ได้ทันทีจากจุดเดียวหรือที่เรียกกันว่า One stop services  ท่านเริ่มมีคำถามว่าเราจะจดทะเบียนการค้าได้อย่างไร จะขอกู้เงินเพื่อลงทุนที่ไหน ใครจะอนุมัติสิ่งเหล่านี้ มีทางออกอยู่แล้ว ในต่างประเทศจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า CA (Certificate Authority) เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และรับรองบุคคลหรือนิติบุคคลโดยมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) กำกับ ซึ่งก็เป็นเครื่องยืนยันได้ และท่านคงมีคำถามต่อไปอีกว่าในเรื่องความลับหรือความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลบนเครือข่ายเชื่อถือได้แค่ไหน  ในการทำธุรกรรมเป็นสิ่งจำเป็นที่ท่านต้องคิด  แต่ระบบก็มิได้ละเลย  มีระบบการเข้ารหัสข้อมูล (encrypt) และถอดรหัส (decrypt) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ท่านคงคลายความกังวลลงได้บ้าง และลองนึกย้อนหลังที่เครื่องถอนเงินที่เราเรียกเครื่อง ATM มาใหม่ ๆ ทุกคนกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะใช้ และวันนี้เป็นอย่างไร… สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานคือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้พัฒนาระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเริ่มให้บางหน่วยงานใช้บ้างแล้ว  เมื่อการทำธุรกรรมทั้งหลายสามารถเสร็จสิ้นจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และปลายนิ้วของท่าน มันลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย นี่เป็นตัวอย่าง ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเร็วในยุคนี้ หรือ Economy of Speed นั่นหมายถึงท่านเริ่มก้าวเร็วขึ้นแล้วใช่หรือไม่  มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศจะต้องพัฒนา และลดขั้นตอนในกระแสเศรษฐกิจเช่นนี้ หรือปฏิรูประบบงานภาครัฐให้มีความคล่องตัวสูง เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติ ในขณะที่วันนี้เราเริ่มเรียนรู้วิธีการทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า e-Commerce แต่โลกกำลังก้าวไปที่
m-Commerce เช่นกันสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้นกำลัง เร่งพัฒนาบทเรียนลงคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เราเรียกติดปากว่า e-Learning แต่โลกกำลังก้าวไปสู่การเรียนในระบบ m-Learning ด้วยเทคโนโลยีสามประสาน คือ หนึ่ง  IMT-2000  เป็นมาตรฐานที่  ITU กำหนดสำหรับโทรศัพท์มือถือหรือเราคงได้ยิน คำว่า 3G กันบ้างแล้ว สองเทคโนโลยี  WAP ที่ทำให้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ประเภท PDAs (Personal Digital Assistants) สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้และสามเทคโนโลยี  Bluetooth เป็นไมโครชิปตัวเล็ก ๆ  ที่ฝังอยู่ในโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด เพื่อทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สื่อสารกันด้วยความถี่  2.4 GHz ในโลกไร้สาย จากเทคโนโลยีทั้งสามจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ต้องจับตามองเพราะมันจะเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์อีกรอบหนึ่ง และมีคำกล่าวกันว่า ในศตวรรษนี้ จะเกิดเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ “ (Knowledge-base Learning Economy)
ทำไมต้องมุ่งสู่ e-Government  ในการที่จะก้าวเข้าสู่ ประเทศที่มีศักยภาพ  เราจำเป็นต้องใช้วิทยาการและแนวคิดสมัยใหม่เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อลดช่องว่างและระยะห่างระหว่างประเทศที่ล้าหลังกับประเทศที่พัฒนา  เพราะช่องว่างนี้มันจะเกิดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure divide) ความเหลื่อมล้ำทางด้านทักษะการเรียนรู้ (literacy divide) ความเหลื่อมล้ำทางด้านการจัดการ (management divide) และความเหลื่อมล้ำทางด้านวัฒนธรรม (cultural divide) ซึ่งจะส่งผลและคุกคามด้านเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชน ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างประเทศ และตัวเทคโนโลยีนั่นเองที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบระหว่างชุมชน และสังคม เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร ในวิถีเศรษฐกิจแนวใหม่ e-Government จึงเป็นกระบวนการปฏิรูประบบการปฏิบัติงานภาครัฐที่ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสร้างสังคมสารสนเทศ (Information Society) เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการต่าง ๆ   เพื่อสร้างโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
วิสัยทัศน์ภาครัฐ ในการก้าวเข้าสู่ e-Government นั้นมีปัจจัยที่รัฐจำเป็นต้องเร่งดำเนินการคือ ประการแรก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ในด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่ทั่วถึงและมีราคาถูก ระบบการขนส่งที่สะดวกรวดเร็ว สำหรับชุมชนรวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมในการพัฒนาฐานรากของสังคมประการถัดมา การพัฒนาทางด้านกฎหมายให้ทันสมัยเพื่อรองรับกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากลไกทางกฎหมายและการบังคับใช้ รวมถึงมาตรการด้านการเงินและภาษี ที่ซ้ำซ้อนหรือที่ล้าสมัยหรือที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลหรือนิติบุคคล ให้เอื้อต่อการทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขัน ประการสุดท้าย  การพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ตัวชี้วัดที่เห็นได้ชัดจากผลสำรวจของ IMD ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติอันดับต้น ๆ นั้นประชากรจะมีความรู้ ความสามารถสูง สามารถประยุกต์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ ๆ  เพื่อยกระดับผลผลิต ซึ่งต้องใช้กลไกของรัฐในการผลักดันและส่งเสริมการเรียนรู้  เพื่อให้ชุมชนยอมรับในวัฒนธรรมของการเรียนรู้สมัยใหม่ สำหรับการคิดค้นและสร้างสรรค์และนั่นหมายถึง เราจะมีแรงงานที่มีความรู้  (knowledge workers) ในสังคมและเศรษฐกิจบนรากฐานแห่งความรู้ เพราะการลงทุนในการพัฒนามนุษย์ถึงแม้ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอนาคตมันมีค่ามหาศาล
กลางระบบสารสนเทศในการบริหารและการจัดการภาครัฐโดยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมจะเป็นฐานในการเชื่อมโยงระบบและผลักดันให้เกิดระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการศึกษาในแนวใหม่ การถ่ายทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการศึกษาที่เราเรียกว่า e-Education หรือการทำธุรกิจบนเครือข่ายที่เรียกว่า e-Commerce ในระบบอุตสาหกรรมก็เช่นกันจำเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนในการผลิตหรือออกแบบ เพื่อให้ได้ตัวผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น ระบบ e-Industry ในภาคอุตสาหกรรมต้องให้ความสนใจ และภาครัฐต้องส่งเสริม ในส่วนของประชาชนการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนสารสนเทศ หรือ e-Society ด้วยความสัมพันธ์ทั้ง 5 ระบบที่เกี่ยวเนื่องจะเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ในการเข้าไปสู่สนามการแข่งขันในระดับนานาชาติ และรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น   


วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8

E-procurement

ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ค้า การทำ e-Catalog และการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ จัดซื้อที่เป็น Web Based Application เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงาน
e-Procurement หมายถึง การทางานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนาไปวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจาก e-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะถูกถ่ายทอดไปอย่างต่อเนื่องจนจบกระบวนการ โดยไม่ต้องใช้เอกสารที่เป็น Manual เลย ทาให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยา และเกิดความโปร่งใส และที่สำคัญข้อมูลจะถูกถ่ายทอดไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดการประสานงานอย่างสอดคล้องภายองค์กรและระหว่างองค์กรกับผู้ขายอีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ e-Procurement ในประเทศไทย
        ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการของผู้ใช้
        ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good Governance) โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความพร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน
        ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
        ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน ซึ่งมีสาเหตุส่วนหนึ่งมากจากกระบวน การจัดซื้อจัดจ้างที่มีความยุ่งยาก
        ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของ ภาครัฐ และส่งเสริมความโปร่งใสและ             ธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน
        ช่วยภาครัฐในการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งไปสู่ระบบที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นโดยลดทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น เวลาของเจ้าหน้าที่ซึ่งหมดไปกับงานเอกสาร ไปสู่การพัฒนาทักษะชั้นสูงในการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารทรัพย์สิน
        เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และการซื้อสินค้าหรือบริการ ที่มีความคุ้มค่า
ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement
1.       เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์
2.      การกระจายข้อมูล (Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆโดยเฉพาะ ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ค้าโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
3.      การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bid Submission) ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน
4.      การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า (Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง และระบบสนับสนุนหน่วยงานที่จัดซื้อจัดจ้าง(Buyer Support System) เช่น ระบบวางแผนการ จัดซื้อจัดจ้าง ระบบสนับสนุนการ ประเมินและคัดเลือกข้อเสนอและระบบการบริหารสัญญา เป็นต้น
5.      การพัฒนาระบบ e-Catalog จะมีผลให้สินค้าและบริการในอนาคต ที่ส่วนราชการจัดหามีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีทางเลือกในการพิจารณาจัดหาพัสดุได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้ง ลดต้นทุนในการดำเนินการจัดหาพัสดุโดยรวม
ขั้นตอนของระบบ e-Procurement
1.       ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
2.      เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
3.      จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site
4.      ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP)
5.      ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย
6.      ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
7.      ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
8.      จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment
องค์ประกอบของระบบ e-Procurement
                   ระบบ e–Catalog
                   ระบบ e-RFP (Request for Proposal) / e-RFQ (Request for Quotation)
                   ระบบ e– Auction
                   ระบบ e-Data Exchange
                   Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง
                   e-Market Place Service Provider
ระบบ e– Auction
แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ต้องใช้วิธีการประมูล ระบบนี้จะรับข้อมูลของผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกจากระบบ e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยการประมูลจะมี 2 แบบ คือ
                   English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของ การประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ
                    Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและ ราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bidแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด
ส่วนที่ 2 Forward Auction
 เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงาน ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด
ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ซื้อ
1.       กำหนดและสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตรายใหม่ได้ทั่วโลก
2.      ความสัมพันธ์กับพันธมิตรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทาให้มีอำนาจและต่อรองทางธุรกิจมากขึ้น
3.      ลดการกระจายสารสนเทศ
4.      สามารถส่งรูปภาพไปให้ผู้ผลิตหลาย ๆ แห่งในเวลาเดียวกัน
5.      ลดเวลาและค่าใช้จ่ายของกระบวนการ
6.      ได้รับการประมูลจากผู้ผลิตหลายรายเร็วขึ้น และทาให้การเจรจาต่อรองได้ผลดีกว่า
ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ขาย
1.       เพิ่มปริมาณการขาย
2.      ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
3.      ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
4.      เวลาของกระบวนการสั้นลง
5.      พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
6.      กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ข้อดีของ e-Procurement
ระบบ e-Procurement จะช่วยให้องค์กรสามารถลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับองค์กรลง และทาให้ฝ่ายจัดซื้อมีเวลาวางแผนในส่วนของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic sourcing) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากขึ้น นอกจากนั้นการที่ข้อมูลการทาธุรกรรมต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทาให้ บริษัทสามารถนาข้อมูลไปเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ เพื่อการวางแผนที่ดีขึ้น เช่น เมื่อนาข้อมูลจากระบบ e-Procurement เชื่อม กับระบบ Inventory เมื่อถึงจุดสั่งซื้อ สามารถกำหนดให้ระบบสร้างใบ PO และส่งไปยังผู้ขายโดยอัตโนมัติได้ หรือการนาไปเชื่อมกับระบบ e-Payment เมื่อผู้ขอซื้อได้รับสินค้าและทาบันทึกรับในระบบ e-Procurement แล้วสามารถกำหนดให้ระบบจ่ายเงินให้กับผู้ขายโดยอัตโนมัติได้ เป็นต้น


บทที่ 7


Supply Chain Management


กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย 


            กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น 

           Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน


ในการปรับตัวขององค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการบริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ผังการทำงานในระบบ Supply Chain Management



Relationships between logistics and supply chain




ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการนำเอาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมาใช้ 
•การแข่งขันที่รุนแรง (Intense Competition) 
• การกลายเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalisation) 
• ความไม่แน่นอน (Uncertainty) 
• การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) 
• การขาดการประสานและความร่วมมือกัน (Coordination & Cooperation) 
• ไม่มีการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน (Share common information) 

การดำเนินธุรกิจในยุคนี้ให้ประสบความสำเร็จ และมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างแท้จริง องค์การไม่สามารถดำเนินการแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือกระทำโดยลำพังได้ ดังนั้น การปรับมุมมองการดำเนินงานเข้าสู่แนวคิด SCM จึงควรมีความเข้าใจความหมายของ SCM อย่างครบถ้วนเพื่อที่จะสามารถพิจารณา และกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง การบริหารในปัจจุบันและอนาคตนั้นองค์การจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 

•การทำกำไรในปัจจุบันทำได้ยากขึ้น ในอนาคตองค์การอาจต้องมีการจัดการผลกำไรอย่างเจาะจงตามประเภทลูกค้า และสินค้า และมองหาโอกาสในการสร้างกำไรในอนาคตระยะยาว

•ผู้นำองค์การในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการสร้างพันธมิตร ในอนาคตการพัฒนาองค์การจะเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking Organization)

•การทำงานของบุคลากรจะเน้นการทำงานได้หลากหลาย ทำงานข้ามวัฒนธรรม และได้รับค่าตอบแทนตามผลงาน และให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของร่วม

•ช่องทางธุรกิจใหม่ ๆ กำลังเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่องทางดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อรักษาสภาพทางการตลาด มีการกำหนดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และช่องทางใหม่มีการรวบรวมคนกลางและกำหนดการลงทุนธุรกิจใหม่

•การมีช่องทางมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ การมีลูกค้าที่หลากหลาย จำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้ทำให้การบริหารองค์การทำได้ยากขึ้น ทำให้องค์การเข้าสู่การเป็นองค์การขยาย และเน้นการตอบสนองลูกค้าเป็นราย ๆ

•มีการใช้ระบบช่วยในการตัดสินใจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)

•การประเมินผล และการนำทิศทางองค์การ มุ่งเน้นมูลค่าของหุ้นและมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ

•เน้นหนักสินค้าบริการเฉพาะตัว และให้ความสำคัญกับราคามากขึ้น ลูกค้ามีความคาดหวังต่อบริการมากขึ้น 

•คุณภาพถือเป็นสิ่งบังคับที่ต้องมีอยู่แล้วลูกค้าไม่ต้องการสินค้าหลากหลายแต่ต้องการสินค้าที่เหมาะกับตน องค์การจะต้องเน้นการทำตลาดเจาะจงโดยใช้แหล่งวัตถุดิบร่วมกัน รวมทั้งเน้นการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวมากขึ้น

•การตลาดมุ่งเน้นลูกค้าแต่ละราย

•การบริหารเน้นการสร้างพันธมิตรมากขึ้น เช่น การเป็นพันธมิตรกับคู่แข่งมากขึ้นทั้งในลักษณะเอกเทศและพหุภาคี (มานะ ชัยวงค์โรงจน์,2546:26-27)

ในแต่ละองค์การต่างมีระบบ SCM แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ระบบ SCM ขององค์การ ที่ประกอบไปด้วย ผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและลูกค้านั้นแต่ละหน่วยมีความเข้มแข็ง หรือมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด

ซึ่งหมายความว่าองค์การ มีการจัดระบบให้มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ดีเพียงใด มีหน่วยวัดความสำเร็จของระบบโดยรวมที่ชัดเจนหรือไม่ มีการพัฒนาระบบในตัวเองได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไร


บทที่ 6

Customer relationship management (CRM) 



CRM  หมายถึง เปนกลยุทธทางธุรกิจเพื่อสรางความสัมพันธระยะยาวกับลูกคา เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกคา และตอบสนองความตองการของ ลูกค้า ด้วยสินคาหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแตละคนมากที่สุด

เป้าหมายของ CRM

เป้าหมายของ CRM  นั้นไม่ได้ เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรม  ในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้ให้เกิดประโยชน์   ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้าย ของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้ บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป


กระบวนการทำงานของระบบ CRM
- Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า 
- Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท 
- Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว 
- Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน 
รูปแบบหรือชนิดของ CRM
- หมายถึง กระบวนการ (process) และ technology ที่ใช้ในการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ความถูกต้องรวดเร็วของปฏิบัติการประจำวัน (day-today customer-facing operation)

- Analytical CRM รวบรวม ค้นหา จัดระบบ วิเคราะห์หาข้อมูล/ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า นำไปสร้างกระบวนการบริการของธุรกิจ
- Strategic CRM องค์กร กำหนดให้เป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กร โดยเริ่มจากกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร และคำนึงถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อลูกค้า

- Collaborative CRM มุ่งการใช้การบริการและศักยภาพของโครงสร้างภายใน(infrastructure) เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและช่องทางติดต่อกับลูกค้าทุกทาง 

- E-CRM   หมายถึง  กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทางinternet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน  

คุณสมบัติที่ดีของ E-CRM- ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และสามารถในการประเมินความต้องการของลุกค้าล่วงหน้าได้
- การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์

องค์ประกอบของ E-CRM- ระบบการจัดการ
- คน
- เทคโนโลยี
หน้าที่หลักของ E-CRM - การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting)
 - การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา  (Save or Win Back)
 - การสร้างความจงรักภักดี
 - การขายเพิ่มขึ้นโดยใช้ (Cross-sell/Up-sell)
การหาลูกค้าใหม่ (Prospecting)     ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ
         - การจัดกลุ่มลูกค้า
         - การเลือกกลุ่มลูกค้าที่จะเป็นเป้าหมาย
         - วิธีการได้ลูกค้า
         - การจัดกลุ่มและการเลือกจะพิจารณาจาก 

      วิธีการได้ลูกค้า
         - การโฆษณาตามสื่อต่างๆ 
         - การประชาสัมพันธ์
         - Web Site
         - พนักงานขาย
         - งานแสดงสินค้า
        - ลูกค้าติดต่อ สอบถามที่บริษัท

การรักษาลูกค้าเก่าไว้ หรือ การเรียกลูกค้าเก่ากลับมา (Save or Win Back)        ตรวจสอบ
                         - ลูกค้าที่มีแนวโน้มการซื้อลดลง
                         - ลูกค้าที่ขาดการติดต่อ
        กลยุทธ์
                         - วิเคราะห์และเสนอสินค้า และหรือโปรแกรมที่จูงใจ
                         - เสนอกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าเข้าร่วม

การจัดกิจกรรมทางการตลาด  “ความต้องการของลูกค้า” และ “กำไรของบริษัท”

การสร้างความจงรักภักดี การวัดความจงรักภักดีพิจารณาจาก
- มูลค่าที่ได้รับจากลูกค้า (Value-based segmentation) ดูยอดซื้อของลูกค้าแต่ละราย ดูกำไรที่ได้รับ จัดกลุ่มตามยอดซื้อหรือกำไร
- ความต้องการของลูกค้า (Need-based segmentation) ดูความต้องการของแต่ละคน จัดกลุ่มตามความต้องการ

การสร้างความจงรักภักดีทำได้โดย - จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
- เสนอสิทธิพิเศษ
- เสนอสินค้าหรือบริการใหม่ๆ
- ทำ Loyalty Program
การขายเพิ่มขึ้นโดยใช้ (Cross-sell/Up-sell) - ขายสินค้าชนิดอื่น (Cross-sell) เช่น การขายประกันรถยนต์ ประกันบ้านกับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิต (Offer: Complementary Product)
 - ขายสินค้าเกรดดีขึ้น หรือ ขายปริมาณมากขึ้น (Up-sell)

ขั้นตอนการทำงานของ E-CRM1.การวิเคราะห์ลูกค้า
               ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีอยู่ในฐานข้อมูลได้อย่างมีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ   และการเก็บข้อมูลของลูกค้าและการนำไปใช้  จึงควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ 

2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด
 สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ  ระบบภายใน  และ  ระบบภายนอก  ซึ่งทั้งสองระบบต่างมีความสำคัญต่อองค์กร  หากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใด 

3.การแบ่งส่วนตลาด 
ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น  3  ประเภท  คือ  ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง   ธุรกิจค้าปลีก  และผู้บริโภค
4.การกำหนดตลาดเป้าหมาย 
 สามารถแบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่  ประเภท  Traders  คือ  กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย  และประเภท  Consumers  คือ  กลุ่มผู้บริโภค 

5.การจัดทำแผนการตลาด
 บริษัทควรจะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่าควรให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเปาหมายใดเป็นอันดับแรกและรองลงไป  และแต่ละกลุ่มนั้นผู้ใดมีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ
เครื่องมือหรือกิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่นำมาใช้กับ  E-CRM 
- การตลาดโดยตรง  Direct  Marketing  
ได้แก่  โทรศัพท์  ( Telemarketing ) เช่น  Call  Center  ใบรับประกันสินค้า  ( Warranty  Card )  การตลาดอิเล็กทรอนิกส์  ( E-Marketing )  เช่น  การสร้างเวปไซต์ที่ให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับสินค้า  และมีสื่อตอบกลับให้ลูกค้าสื่อสารกลับมา
- การประชาสัมพันธ์ ( Public  Relations )
ได้แก่  เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว  แผ่นพับ  วารสาร  การจัดกิจกรรมพิเศษ ( Event  Marketing )  เช่น  การเชิญลูกค้าเป้าหมายที่ถูกต้องมาร่วมงานที่บริษัทจัดขึ้น
-การโฆษณา  ( Advertising )
เช่น  การเขียนข้อความแบบเป็นกันเอง  และพิมพ์ส่วนท้ายของโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์  เป็นคูปองเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดตอบกลับมายังบริษัท  ทั้งนี้เพื่อขอรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม
-การส่งเสริมการขาย ( Sales  Promotion )
 เป็นการสร้างและเพิ่มยอดซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง  ได้แก่  แคมเปญสะสมแต้มคะแนนจากยอดซื้อเพื่อแลกรับของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ 

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าระบบการตลาดอัตโนมัติ (Market Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล (Personalization) ประวัติลูกค้า (ประเภทของสินค้าที่ซื้อ จำนวนมูลค่าในการซื้อ ความถี่ในการซื้อ) การตลาดทางไกล (Tele-Marketing)  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมให้กับลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม 

การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า 

บริการ (Service) เป็นงานให้บริการลูกค้า ได้แก่ ระบบ call center การตอบคำถามของลูกค้า การบริหาร Workflow  การโต้ตอบผ่านระบบ IVR (Interactive Voice Response) 

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การให้ข้อมูลสินค้า การทำรายการซื้อขาย และระบบการชำระเงิน ความปลอดภัย
เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล (Database Technology) ใช้สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก

เทคโนโลยีที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactivity) เช่นเว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร หรือวิธีการอื่นๆที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ทันที

เทคโนโลยีการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานเดียวกันเป็นจำนวนมากแต่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Mass Customization Technology)

การนำ e- CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จอาจจะแบ่งกลุ่มเทคโนโลยีหลักได้ดังนี้

- ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Market Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะบุคคล 

- การขายอัตโนมัติ (Sales automation) กระบวนการขายเป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าไปสู่มือลูกค้า หรือการให้บริการกับลูกค้า กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลของสินค้าและราคา ลักษณะเด่น การจัดสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

- บริการ (Service) เป็นงานให้บริการลูกค้า ได้แก่ ระบบ call center การตอบคำถามของลูกค้า การบริหาร Workflow  การโต้ตอบผ่านระบบ IVR (Interactive Voice Response)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การให้ข้อมูลสินค้า การทำรายการซื้อขาย และระบบการชำระเงิน ความปลอดภัย
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
- คลังข้อมูล (Data Warehousing) เป็น การรวมฐานข้อมูลหลายฐานจากระบบปฏิบัติการเช่นระบบขาย ผลิต บัญชี มาจัดสรุปใหม่หรือเรียบเรียงใหม่ตามหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย 

- การขุดค้นข้อมูล (Data Mining and OLAP) เป็นเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ที่ดึงข้อมูล และวิเคราะห์จากข้อมูลปฏิบัติการ จากระบบฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ 

- การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (Internet Technology) เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

- ระบบศูนย์บริการลูกค้า (Call-center) การใช้ระบบ PC telephony รวมถึง Internet telephony ซึ่ง เป็นการรวมระบบโทรศัพท์เข้ากับระบบงานต่างๆ