วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 9

E -Government

E -Government  หมายถึง การให้บริการของภาครัฐผ่านเครือข่ายอิเลกทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มการเข้าถึงบริการของภาครัฐ เสริมสร้างความโปร่งใสของการดำเนินงานของภาครัฐ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทำให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น
E-Government เป็นหนึ่งแนวคิดสำคัญที่สอดคล้องกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือ New Public Administration (NPA) เป็นการปรับปรุงบริการภาครัฐโดยนำแนวคิดการให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือประชาชนผู้มารับบริการเป็นหลัก (Customer Driven) มาใช้ โดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือ

กลุ่มตามผู้รับบริการของ e-Government
1. รัฐ กับ ประชาชน (G2C)
          เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน การจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2. รัฐ กับ เอกชน (G2B)
          เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
. รัฐ กับ รัฐ (G2G)
          เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ (Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่ววยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อ
ให้เกิดการทำงานร่วมกัน (Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
 (Government Data Exchan) ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม
4. รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
          เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee) กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น


ประชาชนจะได้อะไร

สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
        สร้างโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต ได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center), บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการประกอบการที่ลดลง ค้าขายกับรัฐคล่องขึ้น เสี่ยงน้อยลง(สต๊อกของน้อยลง)
         ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มให้บริการออนไลน์บ้างแล้ว อาทิ กรมสรรพากร ที่เปิดระบบ e-Revenue ให้ผู้เสียภาษีสามารถเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ หรือกรมทะเบียนการค้า ที่รับจดทะเบียนผ่านระบบ On-line Registration และทางมหาลัยที่เปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตเป็นต้น
ลักษณะของระบบข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ จะช่วยให้หน่วยงานที่ต้องการทราบหรือใช้ข้อมูลของประชาชน สามารถเชื่อมโยงเข้าไปที่ระบบฐานข้อมูลกลางของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ได้ ทางฝ่ายประชาชนเองจะสามารถรับบริการได้อย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
 ตัวอย่างเช่น การแจ้งเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ สามารถทำเพียงครั้งเดียว ที่ระบบของสำนักทะเบียนราษฎร์กรมการปกครอง หลังจากนั้นระบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เราต้องแจ้งได้เองโดยอัตโนมัติ อาทิ กรมการขนส่งทางบก เพื่อเปลี่ยนข้อมูลในใบขับขี่ ที่การไฟฟ้า ฯ การประปาฯ เพื่อเปลี่ยนชื่อที่อยู่ในใบแจ้งค่าไฟ ค่าน้ำ หรือที่สำนักงานประกันสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบัตรประกันสังคม เป็นต้น  และหากระบบมีการเชื่อมโยงกับระบบการชำระเงิน หรือที่เรียกว่า payment gateway ประชาชนก้จะสามารถชำระค่าบริการต่าง ๆ อาทิ ค่าภาษีอากร ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ธนาคาร หรือที่จุดบริการชำระเงิน เช่น Coynter Service ใด ๆ จึงประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทาง หากมีการนำระบบ e-Government มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดในปัจจุบันสถานบริการอินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปได้เปิดให้บริการเป็นจำนวนมากทั้งในเมืองและในชนบททั่วทุกจังหวัดของประเทศในลักษณะของอินเตอร์เน็ตคาเฟ่
โดยคิดค่าบริการเป็นชั่วโมงใช้งานสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นของส่วนตัว หรือเสียค่าบริการอินเตอร์เน็ตเป็นรายเดือนแต่อย่างใด

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและดูเหมือนจะมีขนาดเล็กลงและหมุนเร็วขึ้นโดยไม่มีทีท่าว่าจะคอยใคร ด้วยพลังขับเคลื่อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ที่ไม่มีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนด  การแข่ง ขันมีมากขึ้น ประเทศที่เข้มแข็งและมีความสามารถทางปัญญาเท่านั้นที่จะอยู่รอด สำหรับโลกใบนี้ เราจำเป็นต้องก้าวให้เร็วและเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความเร็วของตนเอง และเอาชนะความเร็วของกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก หรืออย่างน้อยก็ไปพร้อมกับความเร็วที่เคลื่อนไป เราไม่ต้องการเป็นคนที่ทันสมัยที่สุด แต่ก็ไม่ถึงกับหลุดโลก และไม่ต้องการเห็นเราล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 5-10 ปี เราไม่ต้องการเป็นอดีต ในปัจจุบัน และจากผลสำรวจของ IMD ในปี 2549 ในด้านขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ประเทศไทยติดอันดับที่ 32 จากผลสำรวจ 61 ประเทศ จากปีที่ผ่านมาได้อันดับที่ 27 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาในจุดที่ด้อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างภาคภูมิ โดยสร้าง ความสมดุลและภูมิคุ้มกัน ในสังคมไทยให้เกิดขึ้น กลไกลหรือเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยให้ก้าวเร็วขึ้นและก้าวกระโดดก็คือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กร  จากหน่วยเล็ก ๆ หลาย ๆ หน่วยสอดประสานด้วยข้อมูลของหน่วย เพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น เราจำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาและสร้างฐานข้อมูลสำหรับขององค์การ  เมื่อถึงจุดหนึ่งความเชื่อมโยงของข้อมูลจะมีความสมบูรณ์ เข้มแข็งและเป็นระบบ นั่นหมายถึงการมีฐานข้อมูลที่มีปะสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ เพื่อการบริหาร   การจัด การ  การตัดสินใจ และการบริการนักศึกษาและประชาชน สำหรับการทำธุรกรรมหรือการประกอบกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความเร็ว (Economy of Speed) และลดเวลาในการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เราไม่มีเวลาที่จะมาลองผิดลองถูกกันอีกแล้ว เราต้องก้าวไปข้างหน้าและร่วมกันก้าวอย่างมั่นใจ

e-Government เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 โดยประมวลภาพจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  9  พ.ศ. 2545-2549 กับ  กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 หรือ IT 2010 เพื่อให้สอดคล้องและสามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ในระยะ 5 ปี โดยมีเป้าหมายปี 2545-2547 ระบบสารสนเทศภายในหน่วยงาน (Back Offices) ระดับกรมต้องเสร็จสิ้น  และหลังปี 2547 ระบบบริการประชาชน (Front Offices) ควรจะเชื่อมโยงเครือข่ายและให้บริการประชาชนได้   หลายหน่วยงานได้ปรับระบบบริการที่ดีขึ้น จากที่เราท่านได้สัมผัสถึงแม้หลายหน่วยงานยังไม่สามารถเดินไปตามแผนด้วยปัจจัยที่ยังไม่เอื้ออำนวยก็ตาม แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
e-Government เป็นยุทธศาสตร์ในการก้าวไปสู่การพัฒนาประเทศโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่จะให้บรรลุผล  ถ้าจะแปลกันตรงตัวก็คือ ”รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เพราะ “e” ย่อมาจาก electronic เป็นการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ มาปฏิรูประบบงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ  สนองความต้องการของประชาชน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ให้เป็นสังคมดิจิตอล
 (Digital Society) ที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ท่านลองคิดดูว่าเมื่อบัตรประชาชนหมดอายุ ท่านต้องเดินทางไปที่อำเภอตามภูมิลำเนาเดิมเพื่อทำบัตรใหม่  ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ถ้าระบบเครือข่ายฐานข้อมูลสมบูรณ์ ท่านสามารถทำบัตรได้จากทุกที่ทำการทั่วประเทศ ตัวอย่างถัดไป ถ้าท่านจะประ กอบธุรกิจ ระบบเครือข่ายสารสนเทศสามารถตอบสนองท่านได้ ว่ามีกี่ขั้นตอน ลำดับขั้นการติดต่อ ว่าท่านจะ ต้องติดต่อขออนุมัติจากหน่วยงานใดบ้าง แหล่งวัตถุดิบจากที่ไหน ตลาดที่รองรับ แหล่งการเงินจากที่ใด กฎหมายที่เกี่ยวข้องและระบบภาษี เป็นอย่างไร ท่านสามารถใช้ระบบจากเครือข่ายที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานโดยมี
 e-Government เป็นศูนย์กลางและอำนวยความสะดวก เพื่อทำธุรกรรมจากเครื่องคอมพิว เตอร์ ได้ทันทีจากจุดเดียวหรือที่เรียกกันว่า One stop services  ท่านเริ่มมีคำถามว่าเราจะจดทะเบียนการค้าได้อย่างไร จะขอกู้เงินเพื่อลงทุนที่ไหน ใครจะอนุมัติสิ่งเหล่านี้ มีทางออกอยู่แล้ว ในต่างประเทศจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกกันว่า CA (Certificate Authority) เพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และรับรองบุคคลหรือนิติบุคคลโดยมีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) กำกับ ซึ่งก็เป็นเครื่องยืนยันได้ และท่านคงมีคำถามต่อไปอีกว่าในเรื่องความลับหรือความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลบนเครือข่ายเชื่อถือได้แค่ไหน  ในการทำธุรกรรมเป็นสิ่งจำเป็นที่ท่านต้องคิด  แต่ระบบก็มิได้ละเลย  มีระบบการเข้ารหัสข้อมูล (encrypt) และถอดรหัส (decrypt) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ท่านคงคลายความกังวลลงได้บ้าง และลองนึกย้อนหลังที่เครื่องถอนเงินที่เราเรียกเครื่อง ATM มาใหม่ ๆ ทุกคนกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะใช้ และวันนี้เป็นอย่างไร… สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานคือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้พัฒนาระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเริ่มให้บางหน่วยงานใช้บ้างแล้ว  เมื่อการทำธุรกรรมทั้งหลายสามารถเสร็จสิ้นจากหน้าจอคอมพิวเตอร์และปลายนิ้วของท่าน มันลดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย นี่เป็นตัวอย่าง ในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเร็วในยุคนี้ หรือ Economy of Speed นั่นหมายถึงท่านเริ่มก้าวเร็วขึ้นแล้วใช่หรือไม่  มันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศจะต้องพัฒนา และลดขั้นตอนในกระแสเศรษฐกิจเช่นนี้ หรือปฏิรูประบบงานภาครัฐให้มีความคล่องตัวสูง เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติ ในขณะที่วันนี้เราเริ่มเรียนรู้วิธีการทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า e-Commerce แต่โลกกำลังก้าวไปที่
m-Commerce เช่นกันสถาบันการศึกษาทุกระดับชั้นกำลัง เร่งพัฒนาบทเรียนลงคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เราเรียกติดปากว่า e-Learning แต่โลกกำลังก้าวไปสู่การเรียนในระบบ m-Learning ด้วยเทคโนโลยีสามประสาน คือ หนึ่ง  IMT-2000  เป็นมาตรฐานที่  ITU กำหนดสำหรับโทรศัพท์มือถือหรือเราคงได้ยิน คำว่า 3G กันบ้างแล้ว สองเทคโนโลยี  WAP ที่ทำให้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์ประเภท PDAs (Personal Digital Assistants) สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้และสามเทคโนโลยี  Bluetooth เป็นไมโครชิปตัวเล็ก ๆ  ที่ฝังอยู่ในโทรศัพท์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิด เพื่อทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สื่อสารกันด้วยความถี่  2.4 GHz ในโลกไร้สาย จากเทคโนโลยีทั้งสามจะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ต้องจับตามองเพราะมันจะเปลี่ยนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์อีกรอบหนึ่ง และมีคำกล่าวกันว่า ในศตวรรษนี้ จะเกิดเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ “ (Knowledge-base Learning Economy)
ทำไมต้องมุ่งสู่ e-Government  ในการที่จะก้าวเข้าสู่ ประเทศที่มีศักยภาพ  เราจำเป็นต้องใช้วิทยาการและแนวคิดสมัยใหม่เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อลดช่องว่างและระยะห่างระหว่างประเทศที่ล้าหลังกับประเทศที่พัฒนา  เพราะช่องว่างนี้มันจะเกิดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure divide) ความเหลื่อมล้ำทางด้านทักษะการเรียนรู้ (literacy divide) ความเหลื่อมล้ำทางด้านการจัดการ (management divide) และความเหลื่อมล้ำทางด้านวัฒนธรรม (cultural divide) ซึ่งจะส่งผลและคุกคามด้านเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชน ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างประเทศ และตัวเทคโนโลยีนั่นเองที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบระหว่างชุมชน และสังคม เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร ในวิถีเศรษฐกิจแนวใหม่ e-Government จึงเป็นกระบวนการปฏิรูประบบการปฏิบัติงานภาครัฐที่ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสร้างสังคมสารสนเทศ (Information Society) เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการต่าง ๆ   เพื่อสร้างโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
วิสัยทัศน์ภาครัฐ ในการก้าวเข้าสู่ e-Government นั้นมีปัจจัยที่รัฐจำเป็นต้องเร่งดำเนินการคือ ประการแรก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ในด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่ทั่วถึงและมีราคาถูก ระบบการขนส่งที่สะดวกรวดเร็ว สำหรับชุมชนรวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมในการพัฒนาฐานรากของสังคมประการถัดมา การพัฒนาทางด้านกฎหมายให้ทันสมัยเพื่อรองรับกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากลไกทางกฎหมายและการบังคับใช้ รวมถึงมาตรการด้านการเงินและภาษี ที่ซ้ำซ้อนหรือที่ล้าสมัยหรือที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงของบุคคลหรือนิติบุคคล ให้เอื้อต่อการทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขัน ประการสุดท้าย  การพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ตัวชี้วัดที่เห็นได้ชัดจากผลสำรวจของ IMD ประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติอันดับต้น ๆ นั้นประชากรจะมีความรู้ ความสามารถสูง สามารถประยุกต์ความรู้หรือแนวคิดใหม่ ๆ  เพื่อยกระดับผลผลิต ซึ่งต้องใช้กลไกของรัฐในการผลักดันและส่งเสริมการเรียนรู้  เพื่อให้ชุมชนยอมรับในวัฒนธรรมของการเรียนรู้สมัยใหม่ สำหรับการคิดค้นและสร้างสรรค์และนั่นหมายถึง เราจะมีแรงงานที่มีความรู้  (knowledge workers) ในสังคมและเศรษฐกิจบนรากฐานแห่งความรู้ เพราะการลงทุนในการพัฒนามนุษย์ถึงแม้ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นกับประเทศในอนาคตมันมีค่ามหาศาล
กลางระบบสารสนเทศในการบริหารและการจัดการภาครัฐโดยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมจะเป็นฐานในการเชื่อมโยงระบบและผลักดันให้เกิดระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการศึกษาในแนวใหม่ การถ่ายทอดภูมิปัญญาของท้องถิ่น การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการศึกษาที่เราเรียกว่า e-Education หรือการทำธุรกิจบนเครือข่ายที่เรียกว่า e-Commerce ในระบบอุตสาหกรรมก็เช่นกันจำเป็นต้องมีข้อมูลสนับสนุนในการผลิตหรือออกแบบ เพื่อให้ได้ตัวผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น ระบบ e-Industry ในภาคอุตสาหกรรมต้องให้ความสนใจ และภาครัฐต้องส่งเสริม ในส่วนของประชาชนการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศชุมชน เพื่อให้เป็นชุมชนสารสนเทศ หรือ e-Society ด้วยความสัมพันธ์ทั้ง 5 ระบบที่เกี่ยวเนื่องจะเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ในการเข้าไปสู่สนามการแข่งขันในระดับนานาชาติ และรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น