วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 5

 e-Marketing
E-Marketing ย่อมาจากคำว่า Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งในรายละเอียดของการทำการตลาด E-Marketing จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1. เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market)
  2. เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication)
  3. เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง
  4. มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer)
  5. เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours)
  6. สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response)
  7. มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency)
  8. มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing)
  9. มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)
    E-Marketing เป็นส่วนผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมเข้าไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) เป็นต้น (ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Affiliate Marketing, Viral Marketing ฯลฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้าเอาไว้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) และอำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วน
          ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดยใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
ความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-Commerce
     E-Marketing นั้นคือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce  หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
•    การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)

ในขณะที่ E-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะหมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เน้นที่การ “ขาย” เป็นหลักตัวอย่างเช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์, ทางโทรทัศน์, ทางวิทยุ, หรือแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยทำการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาในการทำธุรกรรมลงได้ ในบางครั้งมีการตีความหมายของคำว่า E-Commerce กับคำว่า E-Business เป็นคำเดียวกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคำว่า E-Commerce ถือเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า E-Business โดยคำว่า E-Business จะเป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า E-Commerce นั่นเอง
ประโยชน์ของ E-Marketing
    นักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey (Smith, P.R. and Chaffey, D. 2001 eMarketing eXcellence: at the heart of eBusiness. Butterworth Heinemann, Oxford, UK) ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำการตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมองว่า E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้
    1. การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
    2. การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ สายการบินต้นทุนต่ำ easyJet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มีรายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90% 

    3. การตอบสนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจาก การใช้งานง่าย การสนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
    
นอกจากนี้ Smith and Chaffey ยังได้กล่าวถึง 5Ss’ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ได้แก่
  1. การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการเราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
     
  2. การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น)
     
  3. การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยสามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ 
     
  4. ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม 
     
  5. การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าของเราให้เป็นที่รู้จัก มีความคุ้นเคยมากยิ่งขึ้น
        การทำ E-Marketing ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจในหลายๆ ประการ ทั้งในแง่ของกลุ่มผู้ประกอบการ เจ้าของสินค้า และในแง่ของกลุ่มลูกค้า ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และด้วยต้นทุนที่ต่ำ
หลักการของ E-Marketing
  1. การตลาดยุค E เน้นการใช้ Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้น เราต้องเน้นระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก ทั้งนี้เราจักต้องสร้าง ระบบโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นมาตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยให้แต่ละคนสามารถเลือก ทางเลือกที่สนองความต้องการได้ด้วยตนเอง 
     
  2. การแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะในตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจากมีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ยกเว้นแต่เราเป็นเพียงรายเดียวที่มีอยู่ใน ตลาด ฉะนั้นการพิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ของการจัดการแล้วเราเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management นั่นเอง เพราะนี่จะทำให้เราทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำ
     
  3. การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล หรือ Migrationing การวางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละบุคคล และหากความต้องการนั้นเปลี่ยนไป ระบบก็ต้องเคลื่อนตำแหน่งของการวางนั้นไปสนองตอบต่อความต้องการใหม่ด้วย
     
  4. ให้เราเป็นหนึ่งในเว็บที่ลูกค้าจำได้ การ สร้างความจดจำเพื่อให้จำเว็บไซต์เราการจดชื่อโดเมนที่ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก
     
  5. ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจักต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายโดยตลอด
     
  6. ต้องปรับที่ตัวสินค้าและราคาเป็นหลัก สินค้าถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเทียบกับคุณค่าของสินค้า และคู่แข่งเสมอว่า ใครสนองตอบต่อความต้องการได้ดีกว่ากัน
     
  7. ต้องให้ลูกค้าตกแต่งสินค้าตามความต้องการได้โดยอัตโนมัติ (Customization & Personalization) วิธีที่ให้ลูกค้าได้รับ คุณค่า หรือสนองความต้องการได้ดีที่สุด ก็คือ การให้ลูกค้าได้เลือกหรือตกแต่งสินค้าเอง รวมทั้งการคำนวณราคาด้วย ฉะนั้น การให้ Options ให้ลูกค้าได้เลือกมากที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

บทที่ 4

E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส (Electronic Business)

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส (Electronic Business) คือกระบวนการดําเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือขายที่เรียกวา องคการเครือขายรวม (Internetworked Network) ไมวาจะเปนการ พาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic Commerce) การติดตอสื่อสารและ การทํางานรวมกัน หรือแมแตระบบธุรกิจภายในองคกร

การพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic Commerce)

-พาณิชยอิเล็กทรอนิกส คือ การดําเนินธุรกิจ โดยใชสื่ออิเล็กทรอนิกส (ECRC Thailand,1999)
-พาณิชยอิเล็กทรอนิกส คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนสงผลิตภัณฑ และบริการโดยใชสื่ออิเล็กทรอนิกส (WTO,1998)

การพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic Commerce)
-พาณิชยอิเล็กทรอนิกส คือ ขบวนการที่ใชวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส เพื่อ ทําธุรกิจที่จะบรรลุเปาหมายขององคกร พาณิชยอิเล็กทรอนิกสใช เทคโนโลยีประเภทตาง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เชน ธนาคารอิเล็กทรอนิกส, การคาอิเล็กทรอนิกส, อีดีไอหรือการ แลกเปลี่ยนขอมูลอิเล็กทรอนิกส, ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส, โทรสาร, คะ ตะลอกอิเล็กทรอนิกส, การประชุมทางไกล และรูปแบบตาง ๆ ที่เปน ขอมูลระหวางองคกร (ESCAP,1998)

การพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic Commerce)
-พาณิชยอิเล็กทรอนิกส คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวของกับกิจกรรม เชิงพาณิชย ทั้งในระดับองคกร และสวนบุคคล บนพื้นฐานของการ ประมวล และการสงขอมูลดิจิทัล ที่มีทั้งขอความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

การพาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic Commerce)
-พาณิชยอิเล็กทรอนิกส คือ การทําธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส ซึ่งขึ้นอยูกับ การประมวล และการสงขอมูลที่มีขอความ เสียง และภาพ ประเภทของ พาณิชยอิเล็กทรอนิกส รวมถึงการขายสินคา และบริการดวยสื่อ อิเล็กทรอนิกส, การขนสงผลิตภัณฑที่เปนเนื้อหาขอมูลแบบดิจิทัลใน ระบบออนไลน, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส, การจําหนวยหุนทาง อิเล็กทรอนิกส, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมรวมกัน, การ จัดซื้อจัดจางของภาครัฐ, การขายตรง, การใหบริการหลังการขาย ทั้งนี้ ใชกับสินคา (เชน สินคาบริโภค, อุปกรณทางการแพทย) และบริการ (เชน บริการขายขอมูล, บริการดานการเงิน, บริการดาน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เชน สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนยการคาเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

พาณิชยอิเล็กทรอนิกส (Electronic commerce) คือ การทําธุรกรรมผาน สื่ออิเล็กทรอนิกส ในทุกชองทางที่เปนอิเล็กทรอนิกส เชน การซื้อขาย สินคาและบริการ การโฆษณาผานสื่ออิเล็กทรอนิกส ไมวาจะเปน โทรศัพท โทรทัศน วิทยุ หรือแมแตอินเทอรเน็ต เปนตน โดยมี วัตถุประสงคเพื่อลดคาใชจาย และเพิ่มประสิทธิภาพขององคกร โดยการ ลดบทบาทองคประกอบทางธุรกิจลง เชน ทําเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินคา หองแสดงสินคา รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนํา สินคา พนักงานตอนรับลูกคา เปนตน จึงลดขอจํากัดของระยะทาง และ เวลาลงได


การประยุกตใช (E-commerce Application)

-การคาปลีกอิเล็กทรอนิกส (E-Retailing) 
-การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส (E-Advertisement)
-การประมูลอิเล็กทรอนิกส (E-Auctions) 
-การบริการอิเล็กทรอนิกส(E-Service) 
-รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส (E-Government) 
-การพาณิชยผานระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ 
(M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสรางพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

องคประกอบหลักสําคัญดานเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนํามาใชเพื่อการ พัฒนาระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกส โดยแบงออกเปน 4 สวนไดแก
1. ระบบเครือขาย (Network)
2. ชองทางการติดตอสื่อสาร (Chanel Of Communication) 
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพรเนื้อหา (Format & Content Publishing) 
4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)

สวนของการสนับสนุนจะทําหนาที่ชวยเหลือและสนับสนุนสวยของการ ประยุกตใชงานใหทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลัก ของบาน ที่ทําหนาที่ค้ําจุนใหหลังคาบานอยางไรก็ตามเสาบานก็ตอง อาศัยพื้นบาน ในสวนของโครงสรางพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยูได อยางมั่นคงตอไป สําหรับสวนสนับสนุนของ E-Commerce มี องคประกอบ 5 สวนดวยกันดังตอไปนี้ 

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development 
2. การวางแผนกลยุทธ E-Commerce Strategy 
3. กฎหมายพาณิชยอิเล็กทรอนิกส E-Commerce Law 
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration 
5. การโปรโมทเว็บไซต Website Promotion

The Dimensions of E-Commerce


Business Model of E-Commerce

Brick – and – Mortar Organization Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent. Virtual Organization Organization that conduct their business activities solely online. Click – and – Mortar Organization Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world.

ประเภทของ E-Commerce
กลุมธุรกิจที่คากําไร (Profits Organization) 
1. Business-to-Business (B2B) 
2. Business-to-Customer (B2C) 
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C) 
4. Customer-to-Customer (C2C) 
5. Customer-to-Business (C2B) 
6. Mobile Commerce

ประเภทของ E-Commerce
กลุมธุรกิจที่ไมคากําไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce 
2. Business-to-Employee (B2E) 
3. Government-to-Citizen (G2C) 
4. Collaborative Commerce (C-Commerce) 
5. Exchange-to-Exchange (E2E) 
6. E-Learning

E-Commerce Business Model
แบบจําลองทางธุรกิจหมายถึง วิธีการดําเนินการทางธุรกิจที่ชวยสรางรายได อันจะทําให บริษัทอยูตอไปได นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ชวยสราง มูลคาเพิ่ม (Value Add) ใหกับสินคาและบริการ วิธีการที่องคกรคิดคนขึ้นมาเพื่อประยุกตใชทรัพยากรของ องคกรอยางเต็มที่ อันจะกอใหเกิดผลกําไรสูงสุดและเพิ่มมูลคา ของสินคาและบริการ

E-Commerce Business Model
ธุรกิจที่หารายไดจากคาสมาชิก ตัวอยางของธุรกิจที่หารายไดจากคาสมาชิกในการศึกษาไดแก AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ), JobsDB.com (ขอมูลตลาดงาน), และ Business Online (ขอมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุมนี้หลายรายเปนธุรกิจที่ไดกําไรแลวเนื่องจากรายไดจากคา สมาชิกเปนรายไดที่มีความมั่นคงกวารายไดจากแหลงอื่นเชน รายไดจากการโฆษณา หรือคานายหนา อยางไรก็ตาม ปจจัยในความสําเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายไดจาก คาสมาชิกไดก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทําใหลูกคายอม จายคาสมาชิกดังกลาว เชน ตองมีสารสนเทศที่แตกตางจากผูประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใชกลยุทธทางการตลาดในการรักษาฐาน ลูกคาไว เชน AOL รักษาฐานลูกคาของตนดวยหมายเลขอีเมลหรือหมายเลข ICQ ซึ่ง ลูกคาที่ใชบริการไปแลวระยะหนึ่งไมตองการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่มีรายไดจากสมาชิกยัง สามารถใชฐานลูกคาของตนที่มีอยูขยายตอ ไปยังธุรกิจตอเนื่องอื่นๆ เชน AOL ใชฐาน สมาชิกของตนในการหารายไดจากการโฆษณาออนไลน และธุรกิจคาปลีก

ธุรกิจโครงสรางพื้นฐาน ธุรกิจโครงสรางพื้นฐานเปนธุรกิจ E-Commerce ที่ใหบริการแกธุรกิจ ECommerce อื่น ตัวอยางของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ไดแก Consonus (ธุรกิจศูนยขอมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชําระเงินออนไลน), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ ไดมาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิรชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดสง พัสดุ) ปจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุมนี้จะขึ้นอยูกับการขยายตัวของ ตลาด E-Commerce โดยรวม กลาวคือ หากเศรษฐกิจ อยูในชวงขยายตัว และมีผูประกอบการ E-Commerce มาก รายไดของธุรกิจเหลานี้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเรามองวาธุรกิจ E-Commerce มีแนวโนมที่จะขยายตัวอยาง ตอเนื่องในระยะยาว ธุรกิจโครงสรางพื้นฐานที่สามารถสรางความแตกตาง จากคูแขงได ก็จะมีแนวโนมที่จะเติบโต และนาจะทํากําไรไดในระยะยาว

ธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกส ธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกสเปนรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเปนที่รูจักกันดีที่สุด เมื่อกลาวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุมนี้ ตัวอยางของ ธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกส (Online Retailer) ในกรณีศึกษาไดแก Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชํา), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปย), 1-800-Flowers (ดอกไม), Webvan (ของชํา), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายไดหลักของธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกสมาจากการจําหนายสินคา ในชวงแรกผู ประกอบธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกส มักคาดหวังวา การประกอบการโดยไมตองมีรานคา ทางกายภาพจะชวยใหตนมีตนทุนที่ต่ํา และสามารถขายสินคาใหแก ลูกคาในราคาที่ต่ํา กวาคูแขงได อยางไรก็ตาม ในชวงเวลาตอมาเราจะพบวา ปจจัยในความสําเร็จของโมเดล ทางธุรกิจดังกลาวมักจะขึ้นอยูกับความสามารถในการจัดการสงสินคาและใหบริการหลัง การขายใหแกลูกคา เราจึงพบวาธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกส ซึ่งไมมีรานคาทางกายภาพ มีแนวโนมที่จะตองสราง รานคาหรือคลังสินคาขึ้นดวยจนกลายเปนธุรกิจที่เรียกวา Clickand-Mortar หรืออาจใชวิธีการสรางพันธมิตรทางธุรกิจกับรานคาปลีกแบบเดิม

ธุรกิจคาปลีกอิเล็กทรอนิกส ตัวอยางของธุรกิจที่เรียกวา Click-and-Mortar ไดแกการที่ Amazon ไดลงทุนสรางคลังสินคาและพยายามทําความตกลงเปนพันธมิตร กับ Walmart ซึ่งเปนรานคาปลีกที่มีชองทางจัดจําหนาย ในขณะเดียวกัน เรายังเห็นแนวโนมของการที่รานคาปลีกแบบเดิมเชน 7-Eleven หันมา ประกอบธุรกิจออนไลนดวย ดังตัวอยางของ 7dream ซึ่งเปนการใช ประโยชนจากการมีรานคาทางกายภาพ และการทําธุรกิจออนไลน รวมกัน

ธุรกิจที่หารายไดจากโฆษณา ในชวงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายไดจากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเขาสูตลาดดังกลาวทําไดงาย ทําใหจํานวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็ว ซึ่งมีผลทําใหเกิดการแขงขันอยางรุนแรง และมีผลกระทบตอรายไดของผูประกอบการ แทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทําเว็บไซตที่มีเนื้อหาดึงดูดใหผูใชเขามาใชตองอาศัยการ ลงทุนสูง และจําเปนตองทําการตลาดและการประชาสัมพันธผาน สื่อตางๆมาก ปจจัยใน ความสําเร็จของธุรกิจในกลุมนี้จึงไดแกการสรางจุดเดนที่แตกตางจากธุรกิจในแนว เดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมตนทุนได ตัวอยางของธุรกิจที่หารายไดจากคาโฆษณา ที่ยังคงสามารถทํากําไรได คือ Yahoo! ซึ่งเปนเว็บทา (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานาน และมี ตนทุนในการสรางเนื้อหานอย เนื่องจากใชวิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผูอื่น นอกจากนี้ยังมีอีกตัวอยางหนึ่งที่นาสนใจ คือ GreaterGood ซึ่งเปนตัวอยางของธุรกิจที่ หารายไดจากการแนะนําลูกคาใหแกเว็บไซตอื่นๆ ซึ่งคลายกับการหารายไดจากคา โฆษณา

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส ตัวอยางของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส (E-Government) ในกรณีศึกษา ไดแก MERX (การใหขอมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov (การจัดซื้อจัดจางของรัฐ) และ eCitizen (การใหบริการของรัฐแกประชาชน) บริการในกลุมนี้มักมีจุดประสงคเพื่อ อํานวยความสะดวกใหแกประชาชนและธุรกิจในการติดตอกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่ม ความโปรงใสในการดําเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดคาใชจายในการ ดําเนินการของภาครัฐ (Buyers.Gov) เปนตน ปจจัยในความสําเร็จของบริการรัฐบาล อิเล็กทรอนิกสคือการศึกษาความตองการของประชาชนหรือผูใชบริการ แลวออกแบบ ระบบใหมีความสอดคลองกับความตองการนั้น นอกจากนี้ ปจจัยที่สําคัญอีกประการหนึ่ง ตอความสําเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกสคือ การกําหนด มาตรฐานของขอมูลและ โปรแกรมประยุกตของบริการตางๆ ที่ตองทํางานรวมกันใหมีความสอดคลองกันเชน ใน กรณีของ eCitizen ซึ่งสามารถ ทําใหเกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service) www.themegallery.com Com

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน ธุรกิจในกลุมนี้มีรูปแบบการหารายไดทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายไดจากการจําหนายสินคา สวนเกินของบริษัทโดยไมเกิดความขัดแยงกับชองทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูล ออนไลนยังชวยใหธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินคา ตัวอยางของธุรกิจตลาด ประมูลออนไลน แบบ B2C ในกรณีศึกษาไดแก Egghead (สินคาอิเล็กทรอนิกส) และ Priceline (สินคาทองเที่ยว) เปนตน รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลนอีกประเภทหนึ่ง คือแบบ C2C ธุรกิจในกลุมนี้จะหารายไดจากคานายหนาในการใหบริการตลาดประมูลซึ่ง ชวยจับคูผูซื้อและผูขายเขาดวยกัน ตัวอยางของธุรกิจตลาดประมูลดังกลาวนี้คือ Ebay ซึ่งเปนตลาดประมูลออนไลนที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ไดกําไรตั้งแตป 1996 ปจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินคาที่มี คุณภาพดีแตมีตนทุนต่ํามาประมูลขาย ซึ่งจําเปน ตองอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญที่มี สินคาเหลือจํานวนมาก สวนปจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือ ความสามารถในการสรางความภักดีของลูกคาและปองกันการฉอโกงระหวางผูซื้อและ ผูขาย

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส ตัวอยางของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส (E-Marketplace) ในกรณีศึกษาไดแก PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร ในอินเทอรเน็ต), Half.com (สินคาใชแลว), และ Translogistica (ขนสงทางบก) ธุรกิจใน กลุมนี้จะหารายไดจากคานายหนาในการใหบริการตลาดกลางซึ่งชวยจับคูผูซื้อและผูขาย เขาดวยกัน ในชวงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดําเนินการโดยผูบริหารตลาดที่เปนอิสระจาก ผูซื้อหรือผูขาย (Independent Market Maker) อยางไรก็ตามตอมาพบวา ผูบริหารตลาด อิสระมักไมสามารถชักชวนผูซื้อหรือผูขายใหเขารวมในตลาดจนมีจํานวนที่มากพอได ในชวงหลังเราจึงเริ่มเห็นผูประกอบการรายใหญ หรือกลุมของผูประกอบการรายใหญที่ รวมตัวกันในลักษณะของ consortium เปนแกนกลางในการบริหารตลาดกลางเอง โดย ชักชวนใหซัพพลายเออรและลูกคาของตนเขารวมในตลาด ปจจัยในความสําเร็จของ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกสคือ ความสามารถในการดึงดูดผูซื้อและผูขายจํานวนมากใหมา เขารวมในตลาดทําใหตลาดมีสภาพคลอง (liquidity) มากพอ ซึ่งจําเปนตองอาศัยการมี ความสัมพันธกับกลุมผูซื้อ หรือผูขายแลวแตกรณี

ธุรกิจที่ใช E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity รูปแบบในการใช E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมัก ไดแก การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการใหบริหารลูกคา สัมพันธ (Customer Relationship Management) ตัวอยางของการบริหารซัพพลายเชน ในกรณีศึกษาไดแก Dell (คอมพิวเตอรสวนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของ ชํา), W.W.Grainger (สินคา MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต) ระบบบริหารซัพ พลายเชนดังกลาวมักจะชวยลดตนทุนในการติดตอกับซัพพลายเออรลดตนทุนการ บริหารคลังสินคา (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางผูผลิตและซัพ พลายเออรจะชวยใหสามารถคาดการยอดขายไดดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการสงมอบ สินคาใหลูกคา

ธุรกิจที่ใช E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity (ตอ) สวนตัว อยางของการบริหารลูกคาสัมพันธที่นําเสนอในการศึกษาไดแก CISCO(อุปกรณ โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนยบริการลูกคา), DaimlerChrysler (ยานยนต), The Value System (เทคโนโลยี สารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณกอสราง) ระบบบริการลูกคาสัมพันธที่ดี จะชวยใหธุรกิจเหลานี้สามารถใหบริการลูกคาโดยมีตนทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสํานักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของ ลูกคาไดการเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนําเอาระบบ E-Commerce มาใชในทั้งสอง ลักษณะดังกลาวจะชวยใหธุรกิจมีความสามารถในการแขงขันเพิ่มขึ้น อยางไรก็ตาม การ เพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไมสามารถเกิดขึ้นไดหากธุรกิจไมมีระบบ ภายใน (Back Office) ที่พรอม ซึ่งถือเปนปจจัยในความสําเร็จที่สําคัญที่สุดประการหนึ่ง

ขอดีและขอเสียของ E-Commerce

ขอดี
1.สามารถเปดดําเนินการไดตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดําเนินการคาขายไดอยางอิสระทั่วโลก
3.ใชตนทุนในการลงทุนต่ํา
4.ไมตองเสียคาเดินทางในระหวางการดําเนินการ
5.งายตอการประชาสัมพันธ และยังสามารถประชาสัมพันธในครั้งเดียว แตไปไดทั่วโลก
6.สามารถเขาถึงลูกคาที่ใชบริการอินเทอรเนตไดงาย
7.ประหยัดคาใชจายและเวลาสําหรับผูซื้อและผูขาย
8.ไมจําเปนตองเปดเปนรานขายสินคาจริงๆ

ขอเสีย
1.ตองมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไมสามารถเขาถึงลูกคาที่ไมไดใชบริการอินเทอรเนตได
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชําระเงินผานทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดําเนินการธุรกิจขายสินคาแบบ ออนไลน
5.การดําเนินการทางดานภาษียังไมชัดเจน ขอดีและขอเสียของ E-Commerce สาขาคอมพิวเตอรธุรกิจ คณะวิทยาการจั

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บริษัท เซฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

กลยุทธ์ทางธุรกิจ

การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นเลิศ

แผนกลยุทธ์ของเราเป็นตัวกำหนดทิศทางและผสานการดำเนินงานขององค์กร ทำให้เราโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นแนวทางให้เราประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดี

กลยุทธ์องค์กร

บุคลากร

ลงทุนพัฒนาบุคลากร เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งขององค์กร และพัฒนาบุคลากรทั่วโลกที่มีความสามารถและบรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติงานด้วยแนวทางที่ถูกต้อง

การดำเนินงาน

การดำเนินงานด้วยความเป็นเลิศ โดยยึดถือระบบความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน และการดูแลจัดการเงินทุน และการบริหารต้นทุนอย่างมีวินัย

การเติบโต

ธุรกิจของเราเติบโตอย่างมีผลกำไร ด้วยการนำข้อได้เปรียบทางธุรกิจต่างๆ มาบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการมองหาโอกาสใหม่ๆ

กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจหลัก

ธุรกิจสำรวจและผลิต

มุ่งเพิ่มผลกำไรในพื้นที่หลัก และมองหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างและพัฒนาโครงการใหม่ๆ

ธุรกิจก๊าซธรรมชาติและการขนส่ง

มุ่งพัฒนาเชิงพาณิชย์จากแหล่งก๊าซที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งพัฒนาธุรกิจก๊าซในระดับโลกที่กำลังเติบโต
อย่างรวดเร็ว

ธุรกิจกลั่น ค้าปลีก และเคมี

เพิ่มผลตอบแทนและรายได้จากกิจกรรมและสร้างมูลค่าในทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยี

สร้างผลการดำเนินงานให้แตกต่างด้วยเทคโนโลยี

พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สามารถสร้างผลกำไรกลยุทธ์

วิสัยทัศน์และค่านิยม

มุ่งสู่ผลสำเร็จด้วยวิถีทางที่ถูกต้อง

วิถีทางของเชฟรอนอธิบายถึงความเป็นมาของบริษัท ประเภทของธุรกิจ ปรัชญาในการดำเนินงาน และเป้าหมายของการทำงานให้สำเร็จในอนาคต ซึ่งจะสร้างพื้นฐานความเข้าใจร่วมกันให้กับพนักงานทุกคน ตลอดจนผู้ที่เราต้องติดต่อเกี่ยวข้องด้วย

วิสัยทัศน์ (Vision)

หัวใจสำคัญในวิถีทางของเชฟรอน คือวิสัยทัศน์ของเรา...เรามุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทพลังงานระดับโลกหนึ่งเดียว ที่ได้รับการชื่นชมมากที่สุด ทั้งในด้านบุคลากร การเป็นพันธมิตรและผลการดำเนินงาน

วิสัยทัศน์ของเราคือ :

  • การจัดหาผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
    และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
  • การเป็นบุคลากรและองค์กรที่มีความมุ่งมั่นและความสามารถเป็นเลิศ
  • การเป็นพันธมิตรยอดนิยม
  • การได้รับความชื่นชมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท อันได้แก่ นักลงทุน ลูกค้า รัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น
    และพนักงาน ทั้งในด้านของเป้าหมายและวิธีการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
  • การมีผลการดำเนินงานที่ดีเลิศระดับสากล

ค่านิยม (Values)

เราสร้างรากฐานของบริษัทด้วยค่านิยมซึ่งทำให้เราโดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น เราดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณ เราเคารพกฎหมาย สนับสนุนสิทธิมนุษยชนสากล ปกป้องสิ่งแวดล้อม และนำประโยชน์มาสู่ชุมชน ที่เราทำงานอยู่

ความซื่อตรง (Integrity)

เราซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เราดำเนินธุรกิจทุกประเภทบนพื้นฐานของจรรยาบรรณมาตรฐานสูงสุด เรารักษาคำพูดของเราเสมอ เรามีความรับผิดชอบต่อการกระทำและงานที่ได้รับมอบหมาย

ความไว้วางใจ (Trust)

เราไว้วางใจ เคารพ และสนับสนุนเพื่อนร่วมงานและพันธมิตร ตลอดจนดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจเช่นเดียวกัน

ความหลากหลาย (Diversity)

เราเรียนรู้ และเคารพต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เราทำงานอยู่ เราเห็นคุณค่าและเคารพต่อความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลในมุมมองและความสามารถที่แตกต่างกันไป สภาพแวดล้อมการทำงานของเราเปิดกว้าง ยอมรับ และสนับสนุนความหลากหลายของบุคคล ความคิด ความสามารถ และประสบการณ์ของแต่ละคน

ความคิดสร้างสรรค์ (Ingenuity)

เราแสวงหาลู่ทางใหม่ๆ และแนวทางการแก้ปัญหาที่ต่างไปจากวิธีการเดิมๆ เราใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการหาวิธีที่ปฏิบัติได้จริง เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ การที่เรามีประสบการณ์ประกอบกับเทคโนโลยี 
และควาอุตสาหะ จะช่วยให้เราสามารถฝ่าฟันอุปสรรคและสิ่งท้าทายต่างๆ เพื่อให้ค่านิยมบรรลุผล

การเป็นพันธมิตร (Partnership)

เรามุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่ดี โดยเน้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายที่ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและไว้วางใจกัน ทั้งกับรัฐบาล บริษัทอื่นๆ ลูกค้า ชุมชนและพวกเรากันเอง

การปกป้องคุ้มครองคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม(Protecting People and the Environment)

เราให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน ตลอดจนคุ้มครองสินทรัพย์และ รักษาสิ่งแวดล้อม เรามีเป้าหมายให้ได้รับความชื่นชมในผลการดำเนินงานที่ดีเลิศระดับสากล ด้วยการนำ “ระบบบริหารจัดการความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน” (Operational Excellence Management System) มาใช้อย่างเคร่งครัด

ผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูง (High Performance)

เรามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศให้กับงานทุกอย่างที่เราทำ และเราพร้อมที่จะปรับปรุงต่อไป
อย่างต่อเนื่อง เราปรารถนาที่จะบรรลุผลสำเร็จที่เหนือกว่าความคาดหมายทั้งของเราเองและผู้อื่น
เราทุ่มเทพลังและตระหนักถึงความเร่งด่วนในการทำงาน เพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จ


บทที่ 3

Business Environment
นักปราชญ์ชาวจีนนาม ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้งคำกล่าวนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการจัดการธุรกิจ การที่จะ รู้เขาได้นั้นจะต้องศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเสียก่อน ส่วนการ รู้เราก็คือการศึกษาสภาพแวดล้อมภายในเป็นลำดับถัดมานั่นเอง การแข่งขันกันในเชิงธุรกิจผู้ที่จะชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทั้งภายนอกและภายในก่อนการลงสนาม



สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
                         สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
                         สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค



สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment)

คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

ตลาด หรือลูกค้า (Market) 
ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)  



SWOT คือ ชื่อของทฤษฎีหนึ่งทางด้านการตลาด ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์สภาพโดยทั่วไปขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน สำหรับการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
โดยทฤษฎี SWOT  ไม่ใช่เป็นเพียงคำ คำเดียว หากแต่มันคือตัวย่อของคำหลายคำ นำมาผสมรวมกันเป็น 1 ทฤษฎี ซึ่งความจริงแล้วมันย่อมากจากคำที่มีความหมาย 4 คำ ดังต่อไปนี้
1. Strengths (S) : จุดแข็ง จุดเด่น ขององค์กร
2. Weaknesses (W) : จุดอ่อน ข้อเสียเปรียบขององค์กร
3. Opportunities (O) :  โอกาสในการดำเนินงานตามแผนงาน
4. Threats (T) : อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน

ประเด็นที่สำคัญของการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT
ในการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT จะถูกแบ่งเป็นสภาพแวดล้อมขององค์กร 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในองค์กร และ สภาพการณ์ภายนอกขององค์กร หรือ อาจแบ่งตามลำดับสภาพการณ์ได้ดังนี้
สภาพการณ์ภายในองค์กร ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร (Strengths) และ จุดอ่อน หรือ ข้อเสียเปรียบขององค์กร (Weakesses)
สภาพการณ์ภายนอกขององค์กร ได้แก่ โอกาสในการดำเนินงาน (Opportuniities) และ อุปสรรคที่อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินงาน (Threats)

ข้อดีของการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT
ในการวิเคราะห์องค์กรด้วย SWOT ถือเป็นหัวใจสำคัญขั้นแรกของการวางแผนดำเนินงาน  เลยก็ว่าได้ เนื่องจากในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ในทฤษฎีนี้ จะทำให้เรามองเห็นทั้งภาพรวม ข้อดีข้อเสีย ต่างๆ ขององค์กร ตลอดจนไปถึงเข้าไปและทราบถึงโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินงานตามแผนงาน อีกด้วย ทำให้ในการกำหนดเป้าหมาย และ วิธีการดำเนินงาน เป็นไปได้อย่างเหมาะสมที่สุด
Social Factor
  สภาวะแวดล้อมทางสังคมเป็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยน แปลงทางด้านประชากร บทบาทหรือสถาน ภาพของบุคคล และระดับชนชั้นทางสังคม ภูมิศาสตร์หรือกายภาพรอบๆ ธุรกิจ สภาพ ของดิน น้ำ แร่ธาตุ หรืออากาศ เช่น ภาวะโลก ร้อน ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์    สึนามิ (Tsunami) โรคระบาด ซึ่งธุรกิจไทยและทั่วโลกเคยเผชิญมาแล้ว คือ โรคไข้หวัดนก ในปี พ.ศ.2550 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและการท่องเที่ยว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (Influenza A : H1N1) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2552) คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2552 หากมาตรการของรัฐยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้

Economic Factor
  สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic) เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยที่จะต้อง นำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น
  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นการชี้นำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไรและจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการบริโภคของประชากรโดยรวมในทิศทางใด ซึ่งในปี พ.ศ.2552 นี้ คาดว่า GDP ของ ประเทศ จะขยายตัวประมาณ 1.2% และในกรณีเลวร้ายอัตราการขยายตัวของ GDP อาจลงไปที่ 0.0% คาดว่าการบริโภคของภาคเอกชนจะขยายตัวในระดับต่ำ อยู่ที่ประมาณ 0.3-0.8% จาก 2.2% ในปี พ.ศ. 2551 (ข่าวสด, 2552)

ภาวะราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกำหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้ นับ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นจาก 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อต้นปี ไปแตะจุดสูงสุดที่ 145.29 ดอลลาร์ในวันที่ 13 กรกฎาคม ก่อนจะตกต่ำมาแตะจุดต่ำสุดในรอบปีที่ 31.41 ดอลลาร์ในวันที่ 22 ธันวาคม ในขณะที่ช่วงไตรมาส 2 ของปี พ.ศ.2552 กลับมาอยู่ที่ 60 ดอลลาร์

ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของกิจการ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากสภาพคล่องทาง การเงินมีมาก อัตราดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย

Technological Factor
  สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้ชุดคำสั่ง (Software) เพื่อช่วยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้แทนแรงงานของคน ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานลงและต้องเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานที่เหลือ มาตรการเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงสถานที่ ห้องทำงาน ลักษณะงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 2

E-BUSINESS INFRASTRUCTURE

ผลลัพธ์การเรียนรู้



ร่างฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอีธุรกิจภายในองค์กรและคู่ค้าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าถึงการทำงานของพนักงานกับอินเทอร์เน็ตและโฮสติ้งของบริการ E-commerce

TYPICAL PROBLEMS


-การสื่อสารที่เว็บไซต์ช้าเกินไป

-เว็บไซต์ที่ไม่สามารถใช้ได้
-ข้อบกพร่องในเว็บไซต์ผ่านหน้าเป็นไม่พร้อมใช้งานหรือข้อมูลที่พิมพ์ในรูปแบบที่ไม่ได้รับการดำเนินการ
-ผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อไม่ได้ส่งในเวลา
-E-mail ไม่ได้ตอบ
-ความเป็นส่วนตัวของลูกค้าหรือความไว้วางใจเสียผ่านปัญหาการรักษาความปลอดภัยเช่นบัตรเครดิตถูกขโมยหรือที่อยู่ขายให้กับ บริษัท อื่น ๆ


E-business infrastructure

E-business infrastructure   หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย

ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components


Key management issues of e-business infrastructure

1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่นก่ารจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความ
ปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร

Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server




Intranet applications

อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management 



Extranet applications

เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง


Firewalls
ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง


Web technology

World Wide Web,  หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ

WEB EVOLUTION

Web 1.0 
ถ้าถามว่า เว็บ 1.0 คือ ? หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินคนนั้นคนนี้พูดกันถึงเรื่องเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของเว็บไซต์กันมาบ้างแล้วอาจจะได้ยินคำเหล่านี้ Web 1.0, web 2.0, web 3.0, web 4.0... และอาจจะยัง ไม่เข้าใจว่า คำเหล่านี้ คือ ? ใช่ไหมครับ งั้นผมจะมาอธิบายให้ได้รู้กันนะครับ ว่ามันคือ ? ลองนั่งนึกย้อนไปในยุดแรกๆ ตอนที่ Internet เพิ่งมีการเริ่มพัฒนาอย่างจริงๆจังๆ เราอาจจะเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำไปเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆ ที่เราเห็นอยู่นั้นไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนพวกเราที่เป็นผู้ใช้งานก็จะมีหน้าที่ คือ กดเข้าไปอ่าน Update ข้อมูลใหม่ๆ ที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ เป็นผู้ดูแลค่อยค่อยนำข้อมูลใหม่ๆ ไปนำเสนอนั้นเอง หรือกฌคือ การสือสารแบบทางเดียว ที่เราเรียกกันว่า One Way Communication ก็ได้

Web 2.0 
จาก Web 1.0 ต่ามาก็เริ่มมีการพัฒนา พวก Web Board, Blog, Wikipedia เป็นต้นซึ่งจะใช้ฐานจ้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคลทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา มีการนำภาพมาแชร์ นำวีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งบันแลกเปลี่ยน พูดคุย และนำเสนอข้อมูลต่างๆ เองได้ ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการเสริมสร้างข้อมูลสารสนเทศ  ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล ในเว็บไซต์นั้นมีการอัตเดท และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบการสือสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication พอมาถึงจุดนี้ ทำให้อินเตอร์เน็ตในยุค 2 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก


Web 3.0 
จาก Web 2.0 ก็เริ่มที่จะขยับก้าวเข้ามาสู้ช่วงของ Web 3.0 เป็นแนวคิดที่ได้มาจาก Web 2.0 ที่เกิดขึ้นมากมาย ให้เว็บไซต์นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้โดยการเอาข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มาจัดให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึง ข้อมูลที่สามารถบอกรายละเอียดได้ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บไซต์ได้ดีขึ้นนั้นเอง สมัยก่อนคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจว่าแต่ละเว็บไซต์คืออะไร เวลาไปค้นหาข้อมูล ก็ไม่รู้ แต่ Web 3.0 จะเป็นการเติมและเพิ่มความหมายเข้าไปในเนื้อหาสาระที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจในตอนแรกให้เข้าใจมากขึ้น สรุป Web 3.0 จะเน้นไปเรื่องการจัดการข้อมูลมนเว็บมากขึ้น ดีขึ้น และทำให้ผู้เยี่ยมชม สามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง 


Web 4.0 
จาก Web 3.0 ก็กลายมาเป็น Web 4.0 หรือที่เขาเรียกกันว่า "A Symbiotic web" คือเว็บไซต์ที่ทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) ที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์สามมารถคคิดได้ มีความฉลาดมากขึ้น ในการอ่านทั้งเนื้อหา ข้อความ และรูปภาพ หรือวีดีโอ ก็สามารถที่จะตอบสนองแล้วตัดสินใจได้ว่าจะ load ข้อมูลอะไร จากไหนที่จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุดมาให้ผู้ใช้งานก่อน และนอกจากนี้แล้วยังมีรูปแบบของการนำมาแสดงที่รวดเร็ว Web 4.0 จะทำให้ข้อมูลต่างๆ สามารถทำงานได้แทบจะทุก Device หรืออาจจะช่วยระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งาน